เมนู

อรรถกถาเมฆิยสูตรที่ 3


เมฆิยสูตรที่ 3

มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า จาลิกายํ ได้แก่ ในเมืองที่มีชื่ออย่างนั้น. นัยว่าเมืองนั้น
ย่อมปรากฏคล้ายเคลื่อนไหว แก่บุคคลทั้งหลายที่กำลังแลดู เพราะ
เขาได้อาศัยดินเหลวสร้างไว้แล้ว เพราะฉะนั้น. จึงเรียกว่า เมือง
จาลิกา. บทว่า จาลิกาปพฺพเต ได้แก่ ภูเขาแม้นั้น ย่อมปรากฏคล้าย
เคลื่อนไหวแก่บุคคลกำลังแลดูในวันอุโบสถข้างแรม เพราะขาวปลอด
เพราะฉะนั้น จึงเรียกว่า จาลิกบรรพต. บุคคลทั้งหลายสร้างวิหาร
ใหญ่ไว้บนจาลิกบรรพตนั้น. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอาศัยเมืองนั้น
ประทับอยู่ในจาลิกบรรพตมหาวิหาร ด้วยประการฉะนี้. บทว่า
ชนฺตุคามํ ได้แก่ โคจรคามแม้อีกแห่งหนึ่งซึ่งมีชื่ออย่างนั้นของวิหาร
นั้นเหมือนกัน ท่านกล่าวว่า ชนฺคุคามํ ดังนี้บ้าง.
บทว่า ปธานตฺถิกสฺส ได้แก่ ผู้ทำความเพียร. บทว่า
ปธานาย ได้แก่ เพื่อทำสมณธรรม. บทว่า อาคเมหิ ตาว ความว่า
พระศาสดาสดับคำของพระเถระแล้ว ทรงใคร่ครวญอยู่ ทรงรู้ว่า
ญาณของพระเถระนั้น ยังไม่แก่กล้าก่อนดังนี้ จึงได้ตรัสห้ามอย่างนี้.
ส่วนบทนี้ว่า เอกกมฺหิ ตาว ได้ตรัสแก่พระเมฆิยะนั้น เพื่อให้เกิด
จิตอ่อนด้วยทรงดำริว่า พระเมฆิยะนี้ แม้ไปแล้วอย่างนี้ เมื่อ
กัมมัฏฐานยังไม่เสร็จ หมดความสงสัยจักกลับมาอีกด้วยอำนาจ
ความรักดังนี้. บทว่า นตฺถิ กิญฺจิ อุตฺตรึ กรณียํ ความว่า ชื่อว่า
กิจที่จะพึงทำอื่นให้ยิ่ง ย่อมไม่มี เพราะพระองค์ทรงทำกิจ 4 ใน